top of page

Wheeled stretcher

การใช้เปลนอนชนิดล้อเลื่อน(wheeled Stretcher)
1.ควรทราบน้ำหนักของสิ่งที่ต้องการยกก่อนที่จะทำการยกเสมอทราบว่าเปลยกนั้นรับหรือทานได้เพียงใด หรือหากต้องการยกที่ต้องรับน้ำหนักเกิน แต่ไม่มากนัก สามารถเลือกวิธีการยกแบบใดจึงจะเหมาะสมและสามารถยกได้
2.ควรมีผู้ช่วยเหลือในการยกอย่างน้อย2คน โดยอยู่คนละด้านหรือส่วนหัวและท้าย เมื่อออกปฏิบัการ ณ จุดเกิกเหตุอาจหาผู้ช่วยเหลืออื่นๆเช่น ตำรวจ หรือผู้เห็นเหตุการณ์ให้ช่วยยกตามความเหมาะสม ผู้ช่วยเหลือหลักจะต้องประเมินและสังเกตอาการผู้ป่วยตลอดเวลาที่ยกเคลือนย้าย
3.จำนวนผู้ยกควรจำเป็นจำนวนเลขคู่ ไม่โงนเงน และควรมีความสูง ตลอกจนความแข็งแรงใกล้เคียงกัน
4.ให้น้ำหนักอยู่ใกล้ตัวผู้ยกมากที่สุด ดังนั้นผู้ช่วยเหลือจึงต้องอยู่ชิดกับผู้ป่วยมากที่สุด
5.ขณะยกต้องรักษาสมดุลของร่างกาย เฉลี่ยน้ำหนักให้ใกล้เคียงกันเป็นคู่ๆของแต่ละด้าน
6.ใช้ท่า power life of squat lift โดยการนั้งย่อลงเพื่อยกเปล วางเท้าราบกับพื้น ห่างกันประมาณช่วงไหล่ของผู้ยก หลังตึง เกร็งขกล้ามเนื้อหน้าท้อง ยื่นตัวโค้งไปด้านหน้าเล็กน้อย กระจายน้ำหนักที่เท้าละโคนหัวแม่เท้าทั้งสองข้าง ขณะยืนหลังตรง โค้งลำตัวส่วนบนไปด้านหน้าเล็กน้อย
7.อาจใช้ท่า power grip ที่จะได้จากกล้ามเนื้อแขนมากที่สุดโดยวางมือห่างจากกัน อย่างน้อย 10 นิ้ว ใช้สัมผัสอุปกรณ์ให้เต็มฝ่ามือและนิ้วมือ โดยการหงายมือกำรอบบริเวณส่วนท้ายของเปล
8.ยกในขณะที่หลังตรง หลีกเลี่ยงการงอหรือโค้งเอว ให้งอสะโพกและย่อเข่าแทน
9.ท่าทางในขณะวางเปลจะทำสลับกันกับตอนยกเปล
10.ขณะบิดตัว เอี้ยวตัว แอ่นหรือบิดหลัง เพราะจะทำให้ผู้ยกเกิดอันตรายต่อกระดูกสันหลังได้
11.ไม่ปล่อยให้ผู้ป่วยอยู่บนเปลเพียงลำพัง เพราะจะทำให้เกิดการไม่สมดุลของน้ำหนัก ส่งผลให้เปลคว่ำหรือเอียงไปด้านใดด้านหนึ่ง
12.การใช้เปลในระยะทางยาวควรให้ด้านเท้าไปก่อนเสมอ ยกเว้นกรณีเข็นเปลเข้าสู่รถพยาบาลซึ่งจะเอาด้านศีรษะไปก่อน
13.ขณะทำการเข็นผู้ช่วยเหลือต้องอยู่คนละด้าน โดยผู้ที่อยู่ด้านเท้าจะดึงเปล ส่วนผู้ที่อยู่ด้านศีรษะจะดันให้เปลเคลื่อนไป
14.ขณะทำการเข็นเปลต้องยึดเปลไว้เสมอเพื่อไม่ให้เปลกระดกเอียง และป้องกันล้อเปลกระแทกกับพื้นไม่เรียน หรือกระแทกจนเกิดเสียงดัง
15.หากพื้นไม่เรียบหรือไม่เสมอกันอาจจะต้องยกเปลในขณะการเคลื่อนย้าย ซึ่งผู้ยกจะต้องอยู่คนละด้าน และหันหน้าไปด้านเดียวกันในทางท่จะเคลื่อนย้ายและผู้ที่อยู่ด้านศีรษะเป็นคนสังเกตอาการผู้ป้วยเสมอ
16.การเข็นเปลต้องเข็นย่างปลอดภัยและนุ่มนวล
17.ในพื้นที่ที่ขรุขระมากๆที่คับแคบ ควรใช้วิธีการยกเปลแทนการเข็นเปล โดยต้องให้มีผู้ยก 4 คนขึ้นไป จับเปลคนละมุม จะทำให้ปลอดภัยและมั่นคงมากกว่า
18.การเข็นเปลในทางที่เป็นมุมจะต้องค่อยๆหมุนเปลอย่างช้าๆเพราะจะทำให้ผู้ป่วยเวียนศีรษะได้ง่าย แต่ถ้ามุมแคบมากๆควรเลือกวิธีการยกด้านศีรษะของเปลนอนขึ้น และยกที่กั้นเตียงขึ้นเสมอ การยกด้านศีรษะของเปลขึ้นจะทำให้ระยะทางของมุมและการหมุนสั้นลง จะลดโอกาสการเวียนศีรษะของผู้ป่วยด้
19.ควรยึดตรึงผู้ป่วยด้วยสายรัดหรือเข็มขัดของเปลเสมอ ทั้งในขณะที่เข็นเปล หรือแม้กระทั่งการจอดได้ตามเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วยไม่ให้ตกเตียง
20.ขณะสอดเปลเข้าในรถพยาบาลต้องค่อยๆสอดอย่างนุ่มนวล
21.หากมีการเปลี่ยนเปลนอนกับรถพยาบาล จะต้องระมัดระวังในการยึดตึงกับจุดต่างๆเพราะอาจไม่สามารถเข้าล็อกเดิมได้อาจทำให้เปลเคลื่อนในขณะที่รถวิ่ง เกิดอันตรายได้ ดังนั้นถ้าหากมีการเปลี่ยนเปลกับรถพยาบาล ผู้ใช้จะต้องตรวจสอบการล็อกทุกครั้ง
22.สามารถใช้เปล กระดานรองหลัง หรืออุปการณ์ยกอีกตัวหนึ่งวางบนเปลนอนชนิดล้อเลื่อนด้ แต่จะต้องระวังการยึดตรึงเปลดังกล่าวเข้ากับเปลเข้าด้วยกันก่อน จะได้ไม่เลื่อนหลุดและเกิดอันตรายได้
23.ต้องแน่ใจทุกครั้งว่า ก่อนออกรถพยาบาลจะต้องยึดตรึงเปลนอนไว้กับรถพยาบาลแล้ว และยึดตรึงตัวผู้ป่วยติดกับเปลนอนเรียบร้อยแล้ว
bottom of page